Return to site

สมดุลทางธรรมชาติกับความยั่งยืนทางวัฒนธรรม

ในปัจจุบันโลกของเรามีการพัฒนาอย่างรอบด้าน ซึ่งการพัฒนาก็หนีไม่พ้นที่จะต้องมีสิ่งปลูกสร้างที่เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ในหลายๆประเทศมีพื้นที่ป่าลดน้อยลง พื้นที่ป่าถูกแทนที่ด้วยตึกรามบ้านช่อง ซึ่งมาพร้อมกับความเจริญมากมาย แต่ถึงอย่างนั้นแล้ว หลายๆประเทศก็ยังคงมีสภาพแวดล้อมที่ปกคลุมไปด้วยพื้นที่สีเขียว ที่เกิดจากธรรมชาติสร้างขึ้นและที่เกิดจากการที่มนุษย์เห็นคุณค่าของการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อรักษาสมดุลทางธรรมชาติเอาไว้ให้ยั่งยืน

broken image

หากกล่าวถึงประเทศชิลี สิ่งหนึ่งที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีคงจะหนีไม่พ้นยอดเขาของประเทศอย่างยอดเขาปาตาโกเนีย แต่ทราบกันหรือไม่ว่านอกจากยอดเขาปาตาโกเนียแล้วยังมีเขตสงวนธรรมชาติที่ครอบคลุมพื้นที่ 2,800 กิโลเมตร ภายในเขตสงวนธรรมชาติแห่งนี้ประกอบไปด้วยอุทยานแห่งชาติทั้งหมด 17 แห่ง ซึ่งจะทอดยาวจากเปอร์โตมอนต์ลงสู่ปลายสุดของทวีปอเมริกาใต้ หากนักท่องเที่ยวต้องการที่จะเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติเหล่านี้ แนะนำให้ใช้เส้นทางถนน Carretera Austal ซึ่งเป็นถนนสายเดียวที่ผ่านชิลีปาตาโกเนียทางเหนือ อุทยานแห่งชาติของที่นี้ อาทิ ปูมารินและปาตาโกเนีย เป็น 2 อุทยานแห่งชาติที่ริเริ่มในเรื่องของเส้นทางเดินป่าและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเลือกได้ว่าจะเดินทางไปพักผ่อนเพียงแค่วันเดียวหรือหลายวันตามความสะดวกของนักท่องเที่ยว นอกจากนี้แล้วยังมีความคิดริเริ่มในเรื่องของการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ รวมถึงการคืนเสือพูมาและñandu (ชนิดของนกอีมู) กลับคืนสู่ถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ แต่การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบนั้นนอกเหนือไปจากแนวทางของประเทศไปสู่ความเป็นป่าที่มีคุณค่าแล้ว การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมก็มีเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน อาทิ "มาปูชิ" กลุ่มชนพื้นเมืองโบราณที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของชิลี เริ่มเปิดรับการท่องเที่ยว ชุมชน Llaguepulli ซึ่งเปิดรับนักท่องเที่ยวที่สนใจ ให้สามารถใช้บริการใน ruka ดั้งเดิมหรือบ้านไม้ที่ปกคลุมด้วยขนนกเปรูกันน้ำร่วมกับหมอผีรอบเตาไฟ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความเชื่อทางวิญญาณของมาปูเช เป็นกลุ่มชาวพื้นเมืองของภาคใต้ตอนกลางของประเทศชิลี และเรียนทำอาหารหรือศึกษาคุณสมบัติของพืชสมุนไพรในสวนเกษตรอินทรีย์ของชุมชน เงินทั้งหมดจากการเข้าพักของนักท่องเที่ยวจะนำไปสู่ชุมชนโดยตรง ส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นมีรายได้ที่ยั่งยืน

broken image

Ruka ดั้งเดิมหรือบ้านไม้ที่ปกคลุมด้วยขนนกเปรูกันน้ำ

Photo Credit: https://www.lanoticiadelcaribe.com/2018/10/22/presentaran-chile-la-experiencia-turismo-comunitario-iguazu/

ในทวีปเอเชียก็มีการอนุรักษ์ที่ส่งผลต่อความยั่งยืนมากมาย รวมถึงในประเทศไทยของเราก็เช่นกัน อาทิ บ้านแม่กำปอง ที่นี้เป็นหมู่บ้านเก่าแก่มีอายุกว่า 100 ปี ชาวบ้านส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอดอยสะเก็ด บ้านแม่กำปอง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 เมตร และอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 50 กิโลเมตร ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของบ้านแม่กำปองจะตั้งเรียงรายในหุบเขา และสองฝั่งของลำห้วย

broken image

สภาพทั่วไปของชุมชนรายล้อมไปด้วยภูเขา มีไร่ชา กาแฟ และมีน้ำตกและป่าที่อุดมสมบูรณ์ (ดอยม่อนล้าน) รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี บ้านแม่กำปองปัจจุบันมี 132 หลังคาเรือน มีประชากรประมาณ 362 คน อาชีพหลักของชาวชุมชนบ้านแม่กำปองคือ การทำเมี่ยง (ชา) อาชีพรองคือ การปลูกกาแฟ ค้าขาย และรับจ้าง ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมืองที่นับถือศาสนาพุทธ ลักษณะทางสังคมของบ้านแม่กำปองชาวบ้านอยู่กันแบบพึ่งพาเหมือนญาติพี่น้อง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน มีความเชื่อในพิธีกรรมต่างๆ ของชุมชน มีความเคารพในกฎ ระเบียบกติกาของชุมชน และสมาชิกมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในทุกรูปแบบ บ้านแม่กำปองมีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ มีความหลากหลายทางชีวภาพของ พืชพรรณตามธรรมชาติ มีอากาศที่สะอาดและแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ มีดอกไม้สีเหลือง-แดง ขึ้นบริเวณใกล้ๆ ลำห้วยตลอดแนว ชาวบ้านเรียกดอกไม้นี้ว่า ดอกกำปอง รวมกับมีแม่น้ำไหลผ่านหมู่บ้าน จึงรวมเรียกว่า “แม่กำปอง” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านนั้นเอง

จากบทความข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า ทรัพยากรป่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากป่าจะช่วยในเรื่องของการรักษาสมดุลทางธรรมชาติเอาไว้ ไม่ให้เกิดภัยพิบัติต่างๆที่จะส่งผลกระทบต่อทั้งการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์แล้ว ป่ายังสามารถช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นพร้อมทั้งส่งเสริมให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนได้อีกด้วย

broken image

RT Spirit - เขียนโดย Jan Maechee

Nitchakamon Intarasuwan

The intern from Siam University x SiamRise Travel