Return to site

ท่องเที่ยวไปพร้อมกับการกระจายรายได้สู่ชุมชน

CASE STUDY: NAN MOD DAENG RAFTING

· RT Spirit,Responsible Travel,การกระจายรายได้,ล่องแก่งหนานมดแดง,พัทลุง

การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ หลายคนอาจจะตีความได้หลายรูปแบบตามความเข้าใจ เช่น การเดินทางไปสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆทำให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติน้อยที่สุด การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อทำให้แหล่งท่องเที่ยวอยู่คู่กับเราให้นานที่สุด Responsible Tourism (RT) ยังเป็นประโยชน์ต่อคนในพื้นที่ เพราะนอกจากจะเที่ยวในสถานที่ต่างๆแล้ว การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบยังสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย นอกจากเรื่องการกระจายรายได้ให้ไปถึงชุมชนแล้ว เรายังสามารถสัมผัสกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของคนในชุมชนอีกด้วย

broken image

เราสามารถสรุปเรื่องการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบได้แบบเข้าใจง่ายๆอีกแบบหนึ่งคือ ก็คือ การเดินทางไปยังสถานที่ท้องถิ่นที่มีวิถีชีวิต (รักษาวัฒนธรรม) เยี่ยมชมความงามของธรรมชาติ (อนุรักษ์ธรรมชาติ) และสามารถสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนได้ (กระจายรายได้, เพิ่มการจ้างงานในท้องถิ่น) ส่วนตัวนักท่องเที่ยวเองก็ได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่และเข้าใจวิถีชีวิตต่อชุมชนเช่นกัน (Authentic Experiences) ซึ่งประเทศไทยของเรานั้นก็มีชุมชนท่องเที่ยว หรือกลุ่มผู้ประกอบการนำเที่ยวที่ให้บริการภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบด้วย เราขอยกตัวอย่าง

broken image

ล่องแก่งหนานมดแดง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นแหล่งท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2552 คุณโยธิน เขาไข่แก้ว คุณลุงอายุ 50 ปี ผู้เป็นผู้จัดการล่องแก่งหนานมดแดง โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ" มาปรับใช้ในพื้นที่ เพื่อเป็นการนำร่องให้กับชาวบ้านในชุมชน จึงได้เริ่มทำการสำรวจลำคลองที่อยู่หลังบ้าน คุณลุงตั้งใจที่จะทำเป็นล่องแก่ง เนื่องจากมีทุนเดิมทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส เป็นตัวหลักในการกำหนดกิจกรรมล่องแก่ง ซึ่งฤดูกาลต่างๆนักท่องเที่ยวสามารถพักผ่อนได้ตลอดทั้งปี

broken image

กิจกรรมท่องเที่ยวล่องแก่งหนานมดแดง ในช่วงเทศกาลจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวล่องแก่งเป็นจำนวนมาก คุณลุงตัดสินใจไม่ให้บริการอาหารภายในสถานที่ท่องเที่ยว แต่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นคนทำอาหารมาให้บริการกับนักท่องเที่ยว โดยทางทีมงานจะเป็นคนสั่งอาหารและติดต่อไปยังชุมชน พร้อมกับให้บริการสถานที่ในการรับประทานอาหารให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งแรงงานทั้งหมดนี้จะใช้คนในชุมชนทั้งหมด นอกจากนี้คุณลุงยังจัดเตรียมสถานที่ไว้ให้ชาวบ้านมาขายสินค้าชุมชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หนานมดแดงแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับคนในชุมชน และไม่ถือผลประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก ล่องแก่งหนานมดแดงนอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสร้างผลประโยชน์มากมายแล้ว คนในชุมชนก็ได้มีส่วนร่วมในพื้นที่อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่การท่องเที่ยวสามารถกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย

ลองคิดดูว่าถ้าหากแหล่งท่องเที่ยว หรือผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวสามารถเชื่อมโยงผลประโยชน์ให้กระจายถึงชุมชนท้องถิ่น จะก่อให้เกิดการพัฒนาและลดความเหลื่อมล้ำได้มากขนาดไหน ชุมชนท้องถิ่นของเราจะมีภูมิคุ้มกันที่ดีอย่างทั่วถึง

broken image

RT Spirit - เขียนโดย KuukKeer

Pennapa Thongsai

The intern from Silpakorn University (SU) x SiamRise Travel