ประชุมสามัญสมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบประจำปี 2568

broken image

ประชุมสามัญสมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบประจำปี 2568

สมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ได้ดำเนินการจัดประชุมสามัญประจำปี 2568 โดยมีสมาชิกสามัญสมาคมฯ เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 17 ราย โดยในปีนี้ทางสมาคมฯ ได้ดำเนินการจัดประชุมพร้อมร่วมทริป Inspection ภายใต้โครงการ “พัฒนาขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน และผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ความยั่งยืน” ที่ดำเนินการโดยศูนย์นวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับทางสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-i) และสมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี ในพื้นที่ 5 ตำบลสุขภาวะคือ ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช, ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา, ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล และตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา โดยทั้ง 5 พื้นที่ได้ดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยคำนึงถึงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) 5 ด้าน คือ

1) Upskill Reskill และ New skill สมาชิกชุมชน เจ้าหน้าที่ พนักงาน (People)

2) สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Planet)

3) เพิ่มงานและสร้างรายได้ให้ชุมชน (Prosperity)

4) ลดความขัดแย้งของแต่ละกลุ่มในชุมชน (Peace)

5) บริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมจากภาคีที่เกี่ยวข้อง (Partnership)

broken image

โดยครั้งนี้ทางสมาชิกสมาคมฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ 3 ตำบลคือป่าขาด, ตำบลท่าข้าม และบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 ตำบลบาละ และสำรวจพื้นที่ท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าสงขลา รวมถึงจัดประชุมสามัญประจำปี 2568 ณ ไร่เทียมฟ้า บ้านเหมืองลาบู ตำบลปะแต จังหวัดยะลา ที่เป็นพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ผ่านกลไกการส่งเสริมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยมีสมาชิกที่เป็นนักวิชาการ และผู้ประกอบการเข้าร่วมดำเนินการพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ. 2561

broken image

ทั้งนี้การประชุมสามัญประจำปี 2568 ได้สรุปกิจกรรมที่ผ่านมาในรอบปี 2567 – 2568 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. สมาคมฯ ร่วมกับทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสถาบันการทองเที่ยวโดยชุมชน ในการพัฒนาโครงการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น เพื่อยกระดับการทองเที่ยวโดยชุมชนและผลิตภัณฑ์ ชุมชนสู่ความยั่งยืน ในพื้นที่ 5 ตําบลคือ ต.ทอนหงส์ อ.พรมคีรี จ.นครศรีธรรมราช, ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา, ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ จ.สงขลา, ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล และ บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 ต.บาละ อ.กาบัง จ.ยะลา ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาต่อเนื่องปีที่ 2

2. โครงการ TourLink Roadshow 2024 ที่เป็นโครงการต่อเนื่อง ในการยกระดับห่วงโซ่คุณค่าทางการท่องเที่ยวของไทยสู่มาตรฐานยุโรป ที่ทางสมาคมฯ เข้าร่วมในการพัฒนาตัวชี้วัด Responsible Village Visit Standards (RVVS) หรือเกณฑ์การท่องเที่ยวหมู่บ้านอยางรับผิดชอบ โดยปี 2567 เป็นปีที่มีการดําเนินการฝึกอบรม Onsite ในจังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, ภูเก็ต, พังงา และกระบี่

3. ร่วมสํารวจเส้นทางการท่องเที่ยว วิถีเลอเวือะ ในพื้นที่ อ.แม่ลาน้อย และ อ.แม่สะเรียง ที่ดําเนินการผ่านเครือข่ายการทองเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากวิทยาลัยชุมชนจังหวัดแม่ฮองสอน

4. สํารวจเส้นทางท่องเที่ยวพื้นที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ที่เป็นพื้นที่ที่สมาชิกสมาคมฯ บริษัท Trek with Jame ได้ดําเนินการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ที่บ้านป่าโหล (ลาหู่) บ้านแม่แมะ และบ้านแม่ซ้าย

5. ร่วมกิจกรรม CNVT Trip inspection ภายใต้โครงการวิจัยอาสาสมัครทองเที่ยว ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ที่ดําเนินโครงการโดย มหาวิทยาลัยแม่โจ ที่มีสมาชิกสมาคมฯ เป็นนักวิชาการ ดําเนินโครงการในจังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยมีชุมชนบ้านผาปัง อ.แม่พริก จ.ลําปาง และ โฮมสเตย์บ้านป่าเกี๊ยะ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เป็นพื้นที่สําหรับรองรับกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร

6. ร่วมสํารวจและพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างรับผิดชอบ บ้านนาทุ่งกลาง ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ โดยทางสมาคมได้สนับสนุนงบประมาณจํานวน 45,000 บาท ให้กับทาง สมาชิกสมาคมฯ ที่สนใจพัฒนาเส้นทางร่วมกับชุมชนที่นําเสนอขายกิจกรรมทองเที่ยวอย่างรับผิดชอบให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ

7. เข้าร่วมงานประชุมเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2567 ณ กรุงจาการ์ตา โดยได้แลกเปลี่ยนและนําเสนองานของสมาคมฯ กับชุมชนสมาชิก, ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของ INDECON เพื่อขยายเครือข่ายในการทํางานพัฒนาการท่องเที่ยวอยางรับผิดชอบในระดับภูมิภาค ASEAN

8. เข้าร่วมงานการตลาด ITB Berlin 2025 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี ระหวางวันที่ 4-6 มีนาคม 2568 โดยปีนี้ทางสมาคมฯ ได้ดําเนินการจัดซื้อพื้นที่ในการจัดแสดงงานที่ Hall 4.1 ที่เป็นพื้นที่สําหรับผู้ประกอบการและองค์กรที่เกี่ยวกับการจัดการทองเที่ยวอยางยั่งยืน และได้ขึ้นเวทีนําเสนอผลงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างรับผิดชอบ โดยมีบริษัทนําเที่ยว องค์กรต่างๆ เข้ามาแลกเปลี่ยนพูดคุย เป็นจํานวนกว่า 170 ราย