ในช่วงที่ผ่านมาในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียเริ่มตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ มีการจัดการการใช้ทรัพยากรที่มีในพื้นที่ชุมชนให้คุ้มค่ามากที่สุด รวมไปถึงการใส่ใจสิ่งแวดล้อม มีรูปแบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การรณรงค์การงดใช้ถุงพลาสติก, ขวดน้ำ, หลอด หรือสิ่งของที่ทำมาจากพลาสติกที่มีกระบวนการการย่อยสลายที่ยาก หลากหลายสถานประกอบการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการใช้สิ่งของจากพลาสติก มาใช้สิ่งของที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ย่อยสลายได้ง่ายมากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น
Photo Credit: http://theprotocity.com/vang-vieng-laos-lost/
ประเทศลาว, เป็นอีกหนึ่งประเทศที่พยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบการท่องเที่ยวให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น ในอดีตบางจุดหมายปลายทางของประเทศลาวมีการท่องเที่ยวแบบปาร์ตี้ เน้นการมาสังสรรค์ของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะในวังเวียง วังเวียงเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญสำหรับแบ็คแพ็คเกอร์ ซึ่งจะเช่าบ้านจากชาวบ้านและใช้เวลาทั้งวันลอยลงไปที่แม่น้ำ มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่บาร์ในโครงสร้างรูปแบบกระท่อมระหว่างทาง หลังจากที่มีนักท่องเที่ยวเสียชีวิตจำนวนมากขึ้น มีมาตรการสั่งปิดบาร์เหล่านั้นที่ไม่ได้รับอนุญาตจำหน่ายแอลกอฮอล์และยาเสพติดให้นักท่องเที่ยว
ตั้งแต่นั้นมาประเทศลาวได้เปลี่ยนฉากการท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์ มาเป็นการท่องเที่ยวเชิงจริยธรรมและความยั่งยืนมากขึ้น โดยเป้าหมายนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นสำหรับนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อมของภูมิภาคและชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย
ทำให้ประเทศลาว กลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว และในฐานะที่ประเทศลาวมีเมืองมรดกโลกขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) อย่างเช่นเมืองหลวงพระบางแล้ว
เมืองหลวงพระบาง มีนโยบายและขั้นตอนเพื่อจัดการความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว มีการริเริ่มโครงการเพื่อลดขยะพลาสติกอย่างจริงจัง ห้องน้ำสาธารณะทุกแห่งมีผ้าเช็ดมือแทนที่จะใช้กระดาษทิชชู โรงแรมส่วนใหญ่ใช้ขวดแก้วสำหรับน้ำดื่มแทนขวดพลาสติกและเปลี่ยนขวดแชมพูพลาสติกขนาดเล็กเป็นเซรามิกแบบเติมได้ โรงแรมและเจ้าของร้านค้าในท้องถิ่นหลายแห่งยังส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์และการปลูกอาหารในท้องถิ่นของพวกเขา ทางหน่วยงานราชการได้ติดตั้งตู้จ่ายน้ำเพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเติมขวดน้ำที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แทนที่การซื้อขวดใหม่ด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastic)
ถ้าหากเราลองคิดดูว่า หนึ่งในปัญหาการรณรงค์ให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการใช้ขวดน้ำที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Refillable Bottle Water) คือการที่เราหาแหล่งเติมน้ำที่สะอาดไม่ได้ ลองคิดดูว่าถ้าหากรัฐบาลไทยลองติดตั้งตู้กดน้ำให้กับทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวชางต่างชาติในจุดที่สำคัญๆของแต่ละพื้นที่ จะทำให้จำนวนของขวดน้ำพลาสติกลดลงได้ขนาดไหนกันนะ
RT Spirit - เขียนโดย Nueng Dekdoi
Penpicha Polngam
The intern from University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC) x SiamRise Travel